Home ข้อคิดสอนใจ 9 เทคนิค “มัดใจลูกน้อง” เจ้านายควรรู้ไว้..แบบนี้ลูกน้องรัก

9 เทคนิค “มัดใจลูกน้อง” เจ้านายควรรู้ไว้..แบบนี้ลูกน้องรัก

11 second read
0
36

ไม่มีใคร อยากเปลี่ยนงานบ่อยโดยไม่มีเหตุจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นคนในแผนกใดขององค์กรก็ตาม ถ้าเป็นไปได้ใครก็อยากอยู่กัน แบบครอบครัว มีอะไรก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเรื่อย ๆ แต่เพราะแต่ละคนมีที่มาไม่เหมือนกัน นิสัยใจคอไม่เหมือนกันนี่สิ การปรับตัวเลยยากกันสักหน่อย

บ่อยครั้งตำแหน่งสูง ๆ ก็ต้องใช้อำนาจลงมาจัดการบ้างเพื่อให้แต่ละคนทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี บางครั้งก็ไม่อยากจะทำเลย เพราะดูเหมือนเป็นการฝืนใจกัน แต่เพื่อให้งานเดินต่อไป จะทำไงได้?ไม่ใช่เรื่องที่ผิด หากเจ้านายจะใช้อำนาจเพื่อควบคุมลูกน้อง

แต่ก็ต้องบาลานซ์ความเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ด้วย อย่าลืมว่าเราทำงานกับคน ไม่ใช่เครื่องจักรที่ป้อนคำสั่งแล้วเป็นอันจบ เราต้องมีการซื้อใจกัน เพื่ออยู่ด้วยกันไปนาน ๆ หัวหน้าที่ดีคืออะไร? เจ้านายที่ดีเป็นแบบไหน? ในแต่ละคนคงมีอุดมคติที่ไม่เหมือนกัน แต่โดยรวมแล้วใครก็อยากได้เจ้านายในแบบนี้

1. วันหยุด-วันลายาว : บอกมาได้เลยว่า อยากได้ช่วงไหน จะให้ลาได้เต็มที่ แต่ต้องบอกกันล่วงหน้านะ เพื่อจะได้บริหารงาน บริหารคนได้ถูกระหว่างที่คุณไม่อยู่

เราเข้าใจดีว่าคุณก็ต้องการผ่อนคลายบ้าง ร่ า ง ก า ย คนเรามันก็ต้องมีล้ามีเหนื่อยสะสมจากการทำงานมาเป็นปีบ้าง

2. ตรงไปตรงมา ผลักดันลูกน้องที่มีศักยภาพ : คุณไม่ต้อง เ ลี ย แข้ง เ ลี ย ประจบประแจงเราเพื่อให้ได้มาซึ่งความก้าวหน้า เราดูออกว่ามันเฟค เอาใจแลกใจกันดีกว่า ตรงไปตรงมา

คุณอยากได้อะไรบอกเรา คุณคิดว่าเราบกพร่องตรงไหนบอกมา ถ้าคุณทำงานเก่ง ฉายแววให้เราเห็น เราจะช่วยผลักดันคุณให้เก่งไปอีก อาจจะส่งไปเทรนด์งานต่างประเทศ หรือฝึกสกิลอื่นเพิ่มก็ว่ากันไป

3. ให้เครดิตลูกน้อง : ถ้ามันเป็นฝีมือคุณจริง ๆ ไม่ได้ลอกใครมา เราพร้อมจะขอบใจคุณ ถ้าคุณทำงานมาเป็นทีมก็บอกว่ามันเป็นผลงานของ “เรา”

บอกกันตามตรง อย่าดิสเครดิตกัน การทำงานมันก็ต้องมีคละกัน ทำเดี่ยวทำเป็นทีมกันบ้าง เราดูออก

4. เรียกมาคุย : ปัญหาไหนที่เราเห็นก่อน เราจะไม่รอให้คุณมาฟ้องก่อน เราจะเรียกมาคุยเลยว่า

คุณโอเคมั้ย? ไหวป่าว? มีปัญหาอะไรมั้ย? เคลียร์กันตรง ๆ แมน ๆ ไม่นอกประเด็น

5. ใครจะใช้เด็กเรา : กรุณามาคุยกับเราก่อน เราไม่อยากให้ลูกน้อง เราเหนื่อยเพิ่มโดยไม่จำเป็น เพราะแต่ละคนย่อมมีหน้าที่เป็นของตัวเองอยู่แล้ว

6. เราพร้อมจะเถียงและออกหน้าแทนลูกน้อง : หากพิสูจน์ได้ว่ามันไม่แฟร์กับพวกเขาจริง ๆ พร้อมจะงัดหลักฐานมาสู้กัน

ให้เป็นประจักษ์ทุกสายตา แต่ถ้าลูกน้องเราผิดจริง เราก็พร้อมจะตักเตือน ถามที่มาที่ไป ให้ขอโทษอีกฝ่ายซะ

7. เราพร้อมจะลุยงานกับลูกน้อง : การเป็นหัวหน้า ไม่ได้แปลว่าต้องรับผิดชอบ เฉพาะงานระดับสูงแต่เพียงอย่างเดียว งานเล็กน้อย

งานกรรมกรก็ต้องทำได้อย่างไม่มีข้อแม้ ไม่จำเป็นต้องรอใครก่อนเมื่อมีโอกาสทำได้ คิดซะว่าช่วย ๆ กันไป หรือใครมีปัญหาติดขัดที่ตรงไหน

ก็เดินเข้ามาขอคำปรึกษาได้เลย อย่าลุยคนเดียวโดยที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย ไม่อย่างนั้นคุณจะไม่มีทางได้พัฒนาฝีมือ

8. กระจายงาน : ให้ทุกคนได้ ทำงานตามศักยภาพแบบพอดี ไม่ให้ใครทำงานหนักเกินไป o v e r l o a d มากไป ทุกงานต้องชัดเจน

เท่าเทียม และต้องมีการกำหนดไว้ด้วยว่าจะให้ใคร back up ใคร ในกรณีที่อีกคน ป่ ว ย ลา มีเหตุฉุกเฉินที่ไม่สามารถทำงานได้

9. อย่างน้อยมีช่วงเวลาสานสัมพันธ์กัน เช่น ทำอาหารมาเลี้ยงกัน, ชวนกันไปแฮงค์เอาท์หลังเลิกงาน ทุกคนจะได้สนิทกันมากขึ้น

รู้สึกว่า เป็นครอบครัวเดียวกัน อยากอยู่กับทีมไปนาน ๆ เวลาทำงานจะได้กล้าพูดกล้าคุยกันได้มากขึ้น

ใจเขา ใจเรา เราก็มีหัวใจ คนอื่นก็มีหัวใจ เราเหนื่อยเป็น คนอื่นก็เหนื่อยเป็น มองเพื่อนร่วมงาน

ให้เหมือนครอบครัวเดียวกันสิ ! นี่แหละคือการเอาใจใส่ที่ไม่ได้ยากอะไรเลย

ขอขอบคุณ j e e b.m e

Load More Related Articles
Load More By adminyinde
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

12 อย่าง อย่าคิดโพสต์ลงโซเชียล เพราะอาจทำให้ชีวิตคุณแย่ลง

ทุกวันนี้ เราจะเห็นหลายๆ คน แ ช ร์ เรื่องราวต่างๆลงบน F a c e b o o k ของตนเองเต็มไปหมดเพร…