Home ข้อคิดสอนใจ 7 กลยุทธ์สอนลูก ให้เขาเชื่อฟัง แม้ลูกกำลังโมโหอยู่

7 กลยุทธ์สอนลูก ให้เขาเชื่อฟัง แม้ลูกกำลังโมโหอยู่

7 second read
0
63

ลูกดื้อ หรือซนมักเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ที่เป็นสิ่งที่หล่อหลอมพฤติกรรมของลูก รวมถึงวิธีการเลี้ยงดูลูกด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูก ไปในทางที่ดีได้ด้วยวิธีการพูด หรือการสื่อสารกับลูกในเวลาที่เขาดื้อ ไม่เชื่อฟัง และต่อต้านเรานั่นเองค่ะ

ซึ่งวิธีการสื่อสารด้วยการพูด เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่ามันสามารถกระทบต่อพฤติกรรมการรับฟังของลูกได้อย่างดี โดยเฉพาะในช่วงวัย 2 -5 ขวบ เเละเด็กจะเริ่มมีความคิดของตัวเอง แต่ว่าเขายังสื่อสารและยังควบคุมอารมณ์ได้ไม่ค่อยดี

จึงทำให้ใครหลายๆ คนมองว่าลูกเรานั้นเป็นเด็กดื้อ จึงขอเสนอ 7 กลยุทธ์พูดอย่างไร…ให้ลูกเชื่อฟัง แม้ลูกกำลังโมโหอยู่ มาเป็นตัวช่วยให้กับคุณพ่อคุณแม่ จัดการกับอารมณ์ของลูกนั่นเองค่ะ

กลยุทธ์ที่ 1. ต้องพูด ให้เข้าใจง่าย สั้นและกระชับใจความ

เพราะเด็กวัยนี้ ยังไม่สามารถฟังและทำสิ่งต่างๆ หลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน ลูกจะจับใจความได้เพียงอย่างเดียว เท่านั้น หากฟังสิ่งที่ยาวๆ เด็กก็จะงง งอแง และลืมง่ายนั่นเอง

ดังนั้นเมื่อลูกกำลังโมโห ให้พูดกับลูกสั้นๆ กระชับ ไม่บ่นยืดเยื้อ บอกแค่ว่าเขาทำผิดอะไร และให้โอกาสเขาได้ลองทบทวนกับตัวเองว่าผิดจริงรึเปล่า? จากนั้นค่อยหันหน้าให้ลูกเปิดใจรับฟังปัญหาและจับเข่าคุยกันค่ะ

กลยุทธ์ที่ 2. ใช้น้ำเสียง ให้ถูกต้องและถูกเวลา

การคุยกับลูกด้วยเสียงที่ดัง ตะเบงหรือตะโกนกับลูกตลอดเวลา เขาจะไม่เข้าใจว่า เราต้องการจะสื่ออะไร พูดธรรมดา หรือว่ากำลังดุเขา ซึ่งอาจจะส่งผลให้เขาไม่ฟัง หรือไม่ปฏิบัติตามนะคะดังนั้นจึงต้องบอกให้เขาฟังว่า น้ำเสียงแบบนี้แปลว่าอะไร ? แม่กำลังโกรธอยู่นะ

หรือแค่เตือนให้เขารับรู้ สิ่งที่เราต้องการที่อยากจะสื่อไปให้จริงๆ นั่นเอง ด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบแต่ทรงพลังค่ะ สิ่งสำคัญที่ควรหลีกเลี่ยงเลย ก็คือหากเราใช้น้ำเสียง ที่ดังดุลูกบ่อยๆ อาจทำให้เขาติดพฤติกรรมจนกลายเป็นนิสัยที่ไม่ดีจากเราตอนที่โมโหก็ได้ค่ะ

กลยุทธ์ที่ 3. เรียกชื่อลูก อยู่เสมอ ไม่ว่าจะพูดให้ลูกทำอะไร

วิธีนี้จะช่วยดึงดูดความสนใจ ของลูกน้อยก่อน ให้เขาหันมาสนใจ และตั้งใจฟังในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่กำลังจะพูด โดยวิธีการพูดนั้น คือให้เรียกชื่อลูกแล้วหยุด เรียกจนกว่าลูกจะหันมามองเราอย่างตั้งใจ

แล้วถึงค่อยอธิบายเหตุผลต่างๆ ให้ลูกเข้าใจในเรื่องที่ทำให้ลูกโกรธ หรือโมโห ที่สำคัญต้องคุยกับลูกด้วยเหตุผลเป็นหลักนะคะ เช่น นุ่นลูก…… นุ่น เงยหน้ามามองแม่ก่อนนะคะเรามาค่อยๆ คุยกันนะลูก

กลยุทธ์ที่ 4. มีทางเลือกให้ลูกตัดสินใจ

หากลูกดื้อแล้วเราอยากให้ลูกทำตาม ในสิ่งที่เราพูด ควรเสนอทางเลือกให้เขาได้เลือกนั่นเองค่ะ

เพราะลูกจะรู้สึก มีอำนาจในการตัดสินใจ เช่น หนูจะเล่นต่ออีก 1 หรือ 2 นาที ก่อนจะไปอาบน้ำดีคะ?

กลยุทธ์ที่ 5. อ่อนโยน แต่เด็ดขาด

คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักการเลือกใช้คำพูดให้ลูกรู้สึกยอมฟัง หรือเรียกอีกอย่างว่า “อ่อนโยน แต่เด็ดขาด” ค่ะ

เรียกว่าใช้คำพูดไม่สั่งลูกจนเกินไป แต่ก็ยังคงอ่อนโยนไม่ทำให้ลูก ห ว า ด ก ลั ว

กลยุทธ์ที่ 6. ใช้คำพูดในด้านบวก

คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายาม อย่าใช้คำพูดว่า “ไม่” หรือ “ห้าม” กับลูก รวมทั้งปรับเปลี่ยนการใช้คำพูดต่างๆ ให้เป็นในด้านบวกมากกว่าค่ะ

เช่น ถ้าเราไม่อยากให้ลูกวิ่ง แทนที่จะบอกว่าอย่าวิ่งสิลูกให้เปลี่ยนเป็นเดินช้าๆ สิลูก ลูกจะยอมเชื่อฟัง และปฏิบัติตามได้ง่ายกว่า

กลยุทธ์ที่ 7. พูดให้ลูกได้คิด

คุณพ่อคุณแม่ลองพูดข้อดี ข้อเสียให้ลูกได้ลองคิดไตร่ตรอง รวมทั้งคิดถึงผลที่จะตามมาจากการกระทำของตนเองว่าที่ทำลงไปนั้น ลูกทำถูกหรือทำผิด การปล่อยให้ลูกได้ลองนั่งคนเดียว

หรืออยู่กับตัวเองจะช่วยให้อารมณ์ของลูกสงบลงได้ค่ะ เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับ 7 กลยุทธ์ พูดอย่างไร…ให้ลูกเชื่อฟัง แม้ลูกกำลังโมโหอยู่ ที่เรานำมาบอกกัน

หวังว่าคุณพ่อคุณแม่ จะนำไปปรับใช้กับลูกๆ ให้ไม่ดื้อไม่ซน และไม่ดุลูกด้วยน้ำเสียง ที่เสียงดังนะคะ อย่าลืมว่าลูกจะโตมาเป็นคนอย่างไรในสังคม

มันเริ่มต้นจากการที่ลูกถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัวอย่างไรเสียมากกว่านั่นเองค่ะ

ขอขอบคุณ p a r e n t s o n e

Load More Related Articles
Load More By adminyinde
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

12 อย่าง อย่าคิดโพสต์ลงโซเชียล เพราะอาจทำให้ชีวิตคุณแย่ลง

ทุกวันนี้ เราจะเห็นหลายๆ คน แ ช ร์ เรื่องราวต่างๆลงบน F a c e b o o k ของตนเองเต็มไปหมดเพร…