1. ต้องเตรียมเงินเก็บ ไว้ยามฉุกเฉิน
นับตั้งแต่ เราเกิดก็คือการนับเวลาถอยหลัง ดังนั้นเมื่อ “อายุเพิ่ม” ก็เหลือเวลาหาเงิน “ลดลง”การสร้างเป้าหมายในการเก็บเงินและมีวินัยในแต่ละเดือนตั้งแต่อายุ 30 จะทำให้คุณประหลาดใจกับเงินก้อนที่เก็บได้
นอกจากการเก็บเงินแล้วคุณควรหาวิธีทำให้เงินเก็บงอกเงยขึ้น เพื่อต่อยอดต่อไปซึ่งเมื่อถึงภาวะคับขัน เช่น เ จ็ บ ป่ ว ย เกิด อุ บั ติ เ ห ตุ หรือ ครอบครัวกำลังเผชิญความลำบากคุณก็พร้อมรับมือ
และช่วยเหลือคนใกล้ตัวได้ทันท่วงที
2. ต้องมี ความคิดเป็นของตัวเองได้แล้ว
หลายๆ คน เรียนจบเมื่ออายุ 20 ต้นๆ จบมาหางานทำหาเงินมาใช้จ่ายฟุ่มเฟือยไปวันๆ โดยไม่ได้คิดถึงวันข้างหน้าใช้ชีวิตแบบไร้จุดหมายเผลอแปปเดียวอายุจะขึ้นเลข 3 แล้ว
แต่ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย คิดแต่จะเฮฮา สังสรรค์ไปวันๆ หันไปดูเพื่อนๆ รอบข้างอีกทีเริ่มมีบ้าน มีรถ สร้างครอบครัว มีฐานะการงานที่มั่นคง
บางคนออกไปเปิดกิจการ เป็นของตัวเองด้วยแล้ว กว่าจะคิดได้แล้วเริ่มตั้งตัวก็อาจจะสายเกินไป
3. ต้องมี ที่มารายได้ที่แน่นอนและต่อเนื่อง
ไม่ว่า จะเป็นงานประจำ งานอิสระหรือธุรกิจส่วนตัว อย่างน้อยต้องเป็นสิ่งที่สามารถสร้างรายได้ประจำให้คุณได้อย่างสม่ำเสมอการมีที่มาที่ไปของการเงินที่แน่นอนนั้น
ทำให้คุณเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือในแง่ของหลักฐานการเงิน โดยเฉพาะเมื่อต้องยื่นกู้สินเชื่อต่างๆ กับธนาคารเพื่อการสร้าง เ นื้ อ สร้างตัวเมื่อคุณมีอายุ 30
และมีความมั่นคง ทางการงานและการเงินแล้ว คุณจะมีรากฐานชีวิตที่แน่นเพียงพอและพร้อมก้าวเดินสู่วัยเลข 4 อย่างมั่นคง
4. ต้องซื้อบ้าน ก่อนซื้อรถ
ยิ่งซื้อบ้านเร็ว ตั้งแต่ก่อนอายุ 30 ปีมีแต่ได้เปรียบ ทั้งในเรื่องระยะเวลา การผ่อนที่ได้มากกว่า ยอดการผ่อนที่น้อยกว่าและมูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นทุกปี การกู้ซื้อ ที่อยู่อาศัยในช่วงอายุก่อน 30 ปีนั้น
แม้คุณอาจจะต้องจ่ายค่าผ่อนบ้านทุกๆ เดือนแต่ความเป็นเจ้าของที่คุณมี จะมาถึงเร็วกว่าคนอายุ 40 ปี จากเงินต้นที่หักหนี้ไป รวมถึงมูลค่าบ้านและที่ดินที่สูงขึ้นในแต่ละปีแต่การซื้อรถนั้น
มีแต่จะ “ลดมูลค่า” ตามความเสื่อมและมีค่าใช้จ่าย เป็นเบี้ยหัวแตกไปกับค่าน้ำมันและค่าบำรุง รั ก ษ า ตลอดการใช้งาน
5. ต้องเริ่ม รู้จักการบริหารหนี้
ความไม่มีหนี้ คือ ลาภอันประเสริฐ ซึ่งหากพูดถึงคำว่าหนี้แล้ว หนี้จะมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือ “หนี้ดี” กับ “หนี้ไม่ดี”การบริหารหนี้ ถือเป็นทักษะที่คุณควรสนใจศึกษาและมีวินัยตั้งแต่เนิ่นๆ
และเป็นหนี้ “เมื่อพร้อมมีภาระในระยะยาวเท่านั้น” ซึ่งหนี้ที่ก่อก็ควรเป็น “หนี้ดี” เท่านั้น เช่น บ้าน ที่ดินหรือซื้อธุรกิจเพื่อต่อยอด ซึ่งภาระหนี้ควรสอดคล้องกับรายได้ของคุณ
นั่นคือ ไม่ควรเกินกว่า 50% ของรายได้ประจำ
6. ต้องคิดคูณสอง เรื่องครอบครัว
ปัจจุบัน แม้จะเป็นเทรนด์ ที่คนอาจจะแต่งงานมีครอบครัวกันช้า แต่การบริหารการเงินและชีวิตมากกว่า 2 คนขึ้นไปโดยเฉพาะเมื่อมีบุตรด้วยแล้ว ไม่ใช่เรื่องง่ายและมีค่าใช้จ่ายสูงมาก
ดังนั้น การเตรียมพร้อมเรื่องการเงิน จึงควรวางแผนตั้งแต่คุณอยู่ตัวคนเดียว วิธีคิดคือ คุณควรใช้ชีวิตก่อนวัย 30 ปี ด้วยการคิดคูณสองในทุกๆ มิติ เช่น การเก็บเงิน การซื้อที่อยู่อาศัย การซื้อรถและการก่อหนี้
เพราะเมื่อถึงวัย 30 และคุณมีการวางแผนชีวิต ในด้านต่างๆ ที่ดีคุณก็พร้อมที่จะดูแลคู่ชีวิตและเลี้ยงดูครอบครัวด้วยความมั่งคง
ขอขอบคุณ r o o n g e e