
เมื่อลองถามคนรอบข้าง ว่ามีการวางแผนทางการเงินอย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่บอกว่าไม่เคยวางแผนเพราะ มองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก บ้างอยากวางแผนแต่ ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร และบางคนยังบอกว่าวางแผนไปก็ไร้ประโยชน์เพราะทุกวันนี้ใช้เงินแบบเดือนชนเดือน
แท้จริงแล้วการวางแผนทางการเงินเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคน เพราะทำให้รู้สถานะทางการเงิน ของตัวเองว่าเป็นอย่างไร มีรายรับรายจ่ายเท่าไหร่ มีหนี้สินมากน้อยแค่ไหน ยิ่งคนที่อยากจะมีอิสรภาพทางการเงิน
อยากเกษียณโดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินๆ ทองๆ การวางแผนทางการเงินจึงเปรียบเสมือนแผนที่ชีวิต ที่จะนำพาความมั่นคงและความมั่งคั่งมาสู่ผู้ที่ลงมือทำอย่างแท้จริง
5 ขั้นตอนง่ายๆ วางแผนการเงิน
ขั้นตอนที่ 1 สำรวจตัวเอง
รู้เขา-รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง นี่คือ กลยุทธเพื่อการพิชิตคู่ต่อสู้ ซึ่งไม่ต่างจากกลยุทธในการเอาชนะใจ ตัวเองเพื่อเก็บเงินให้ได้ตามเป้าหมายที่ฝันไว้ สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ รู้จักตัวเองสำรวจตัวเองว่ามี รายรับ-รายจ่าย เป็นอย่างไร เมื่อรู้สถานะทางการเงินจะทำให้ตระหนักได้
ว่าความจริงแล้วเรามีรายได้มากกว่ารายจ่ายหรือรายจ่ายมากกว่ารายได้ เรามีเงินเก็บมากน้อยแค่ไหนในแต่ละเดือน ฟังดูเหมือนง่าย แต่พอถามกันจริงๆ ส่วนใหญ่จะบอกไม่ได้ว่าในแต่ละเดือนมีสถานะทางการเงินเป็นอย่างไร
มีเงินพอใช้กันหรือเปล่าโดยมากมักจะบอกว่ามีเงินพอใช้ แต่ก็ลุ้นว่าเมื่อไหร่จะถึงสิ้นเดือน ขั้นตอนการสำรวจตัวเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเรียนรู้พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินว่าเป็นอย่างไร
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเป้าหมาย
เมื่อสำรวจรายรับ-รายจ่าย ในแต่ละเดือนแล้ว การกำหนดเป้าหมาย ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะทำให้มีทิศทางที่แน่นอนไม่ไร้จุดหมาย เป้าหมายที่ดีจะต้องมีรายละเอียด มีกำหนดระยะเวลา
เพื่อความชัดเจนในการปฎิบัติ รวมทั้งเป้าหมายควรมีระยะสั้น กลางและยาว เพื่อที่จะได้เก็บเกี่ยว ความสำเร็จในแต่ละช่วง ทำให้มีกำลังใจไม่ท้อใจหรือหมดใจไปก่อนที่จะถึงเป้าหมายระยะยาว
ขั้นตอนที่ 3 วางแผนการเงิน 4 ส่วน
เมื่อได้เป้าหมายแล้ว ขั้นต่อไป คือ การบรรลุเป้าหมาย ด้วยการวางแผนทางการเงิน
โดยแผนที่ดีควรแบ่งรายได้ในแต่ละเดือน ออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในแต่ละเดือน ควรดูว่าอะไรที่สามารถปรับลดได้
โดยค่าใช้จ่ายที่ปรับลด สามารถนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนหรือเก็บออมเพื่อการเกษียณอายุต่อไป
ส่วนที่ 2 เงินเก็บออมเผื่อฉุกเฉิน ส่วนนี้จะเป็นเงินที่สามารถถอน เอามาใช้ได้ทันทีในยามที่มีเหตุจำเป็น
หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น เข้า โ ร ง พ ย า บ า ล , ถูกออกจากงาน เป็นต้น
ส่วนที่ 3 เงินเก็บออมเพื่อการลงทุน เป็นเงินที่ใช้ในการสร้างความมั่งคั่งผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
หรือสินทรัพย์ต่างๆ เช่น หุ้น, กองทุนรวม, อสังหาริมทรัพย์, ทองคำ เป็นต้น
ส่วนที่ 4 เงินเก็บเพื่อเก็บ ส่วนนี้จะเป็นเงินที่ใช้สำหรับการวางแผนเพื่อเกษียณอายุจะไม่นำออกมา
จนกระทั่งครบกำหนดเวลา ส่วนใหญ่จะเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้เหมาะสมกับช่วงวัย
คือ เลือกความ เ สี่ ย ง สูงในช่วงอายุน้อยและความ เ สี่ ย ง ต่ำในช่วงอายุมาก
ขั้นตอนที่ 4 ลงมือปฏิบัติอย่างมีวินัย
สิ่งที่ทำให้แผนการเงิน ส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ ก็คือ ไม่สามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้ ดังนั้น การมีวินัยลงมือปฏิบัติอย่าง จริงจังจะทำให้แผนนั้นเป็นจริงได้ วิธีง่ายๆ คือ เมื่อได้รับเงินเดือนมาแล้ว
สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ออมก่อนหรือลงทุนก่อน จากนั้นค่อยเอาเงินส่วนที่เหลือมาใช้จ่าย เพราะถ้าไม่ทำแบบนี้โอกาสที่จะเก็บเงิน ได้ตามเป้าหมายมีน้อยมาก เพราะจะมีข้ออ้างต่างๆ นานา เพื่อไม่ทำตามแผน อีกวิธีคือ สั่งหักบัญชีอัตโนมัติเป็นประจำทุกเดือน
ทำให้เก็บออมและลงทุนได้ ตามแผนที่วางไว้ และถ้าสามารถบรรลุเป้าหมายระยะสั้นได้โอกาสที่ระยะกลางและยาวจะประสบความสำเร็จมีได้สูง เพราะเราคุ้นเคยกับการออมก่อนใช้นั่นเอง
ขั้นตอนที่ 5 หมั่นทบทวนแผนการเงินอยู่เป็นประจำ
การทบทวนแผนการเงิน ทำให้เราสามารถประเมินได้ว่าแผนที่วางไว้ประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ผลตอบแทนที่ได้รับเป็นไปตามที่คาดหรือไม่ สาเหตุเพราะอะไร เราจะได้ทบทวน หรือปรับแผนให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์การลงทุนที่เหมาะสมตามช่วงเวลานั้นๆ
รวมถึงควรทบทวนเป้าหมายของตัวเอง อยู่เป็นประจำว่ายังเหมือนเดิมหรือไม่ มีอะไรที่อยากปรับเปลี่ยน มีความสามารถในการรับความ เ สี่ ย ง ได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงควรจะเพิ่มเงินลงทุนใหม่แล้วหรือยัง เพื่อให้เป้าหมายต่างๆ ที่วางไว้มีความเป็นไปได้มากที่สุด
แม้ว่าคุณจะไม่เคยมีประสบการณ์ ในการวางแผนทางการเงิน หากคุณมีความตั้งใจจริงที่จะเก็บเงิน มีวินัยที่จะทำตามเป้าหมาย โอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำ
สร้างความมั่นคงมั่งคั่งให้กับชีวิต ในวัยเกษียณก็เป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินเอื้อม เพราะอนาคตที่สดใสเกิดขึ้นได้จากมือของคุณเอง
ขอขอบคุณ s c b