Home ข้อคิดสอนใจ 5 พฤติกรรมผู้นำ..ไม่ควรกระทำกับลูกน้อง

5 พฤติกรรมผู้นำ..ไม่ควรกระทำกับลูกน้อง

9 second read
0
791

การเป็นหัวหน้างาน ที่ดีได้นั้น จำเป็นที่ต้องเข้าใจบทบาท ของการนำลูกน้องเพื่อเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างไป คนละทิศคนละทางแบบนั้น คงยากที่จะประสบความสำเร็จตามที่องค์กรคาดหวังไว้ดังนั้น เมื่อเราถูกแต่งตั้งให้ขึ้นมานำทีมแล้วไซร้ การเข้าใจบทบาทย่อมมีความสำคัญ

โดยเฉพาะ คำว่า ภาวะผู้นำ ที่ผู้นำทุกคนควรตระหนักในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบมากกว่าอำนาจที่ได้รับในแต่ละวัน ซึ่งหากพูดถึง ภาวะผู้นำ ในมุมมองของผู้นั้น ผมเชื่อว่าคนที่มีภาวะผู้นำสิ่งแรกที่เขาจะใช้ก่อนคือ เรื่องของใจ หรือพูดแบบง่าย ๆ คือ อยากได้อะไรจากใคร

เขาจะพร้อมให้คนอื่นแบบนั้นก่อนเสมอ เช่น อยากได้รอยยิ้มจากคนรอบข้าง คนที่มีภาวะผู้นำเขาจะไม่รอให้คนอื่นมายิ้มก่อนแต่พร้อมจะยิ้ม ให้คนอื่นก่อนเสมอ หรือ อยากได้การเคารพให้เกียรติจากคนรอบข้างคนที่มีภาวะผู้นำเขาจะพร้อมให้ความเคารพต่อผู้อื่น ให้เกียรติผู้อื่นในการทำงานร่วมกันอยู่เสมอ

ดังนั้น คนที่มีภาวะผู้นำ ต้องพร้อมที่จะนำคนอื่น มีความคิดในเชิงบวก อยู่เสมอ มองโลกตามความเป็นจริงไม่ยึดติด พร้อมเปิดใจ รับฟังสิ่งต่าง ๆ รอบตัวในการทำงานให้ดีขึ้น เป็นตัวอย่างที่ดีให้ผู้ตามได้เห็นและนำไปปรับใช้เพื่ออนาคตในวันข้างหน้า รู้จัก ก ร ะ ตุ้ น จูงใจ ให้กำลังใจได้

ในวันที่ผู้ตามท้อถอยและกล้าที่จะแนะนำ สอนในสิ่งที่ดี เพื่อ ก ร ะ ตุ้ น ความคิดให้ผู้ตามมีแนวทาง ในการพัฒนาตนเอง และพัฒนางานให้ดีขึ้นในทุก ๆ วัน นั่นคือ สิ่งที่ผมเชื่อว่า ผู้นำที่ดีควรต้องปฏิบัติแต่เชื่อไหมครับ จากประสบการณ์ที่ผมทำงานด้านบุคคล

และปัจจุบันผันตัวเอง มาเป็นวิทยากรแก้ไขปัญหาให้องค์กรต่าง ๆ ผมพบว่า ปัญหาที่คนส่วนใหญ่ลาออมักเกิดจากหัวหน้างาน เพราะหัวหน้างานบางคน ไม่เข้าใจในบทบาทของการเป็น ผู้นำที่มีภาวะผู้นำและมักใช้อำนาจใช้คำพูดใช้กิริยาท่าทางที่ไม่ดี จนทำให้ลูกน้องขาดความเคารพ

จนสุดท้าย ทนไม่ไหว ก็ลาออกไปซึ่งบทความนี้ ผมขอนำเสนอ 5 พฤติกรรมที่ผู้นำไม่ควรทำต่อลูกน้องในทุก ๆ วัน มีอะไรบ้างตามมาอ่านกันครับ

1. ขาดการเคารพให้เกียรติลูกน้อง

เพราะ การสวมบทบาท ของหัวหน้างาน คือ การใส่หัวโขน ซึ่งหัวโขนที่ใส่อยู่นั้น ก็ไม่ควรทะนงตนว่า เราคือ หัวหน้างานมีอำนาจในการสั่งงาน ชี้นิ้วกับลูกน้อง เพราะการเอาแต่ชี้นิ้ว แต่ไม่เคยสอน ไม่เคยคุย ไม่เคยถาม ลูกน้อง จะทำให้การทำงานตรึง เ ค รี ย ด มากกว่าทำงานด้วยความสนุกสนาน

วันนี้ลองทำแบบใหม่นั่นคือ เจอหน้าลูกน้องก็เริ่มด้วยการทักทายพูดคุย ถามสารทุกข์สุกดิบกันบ้างก่อนเริ่มทำงานสร้างความพร้อม ก่อนเริ่มงาน ด้วยการพูดคุยเน้นย้ำเป้าหมายในสิ่งที่ทำ หากเจอปัญหาก็หันหน้ามาคุยกันแก้ไขปัญหาไปด้วยกันมากกว่าปล่อยปัญหาสะสมจนยากจะแก้ไข

หรือหากเรามีลูกน้องที่อายุมากกว่า ก็ลองให้เกียรติ ลูกน้องคนนั้น ด้วยการยกมือไหว้สวัสดี เปิดการทักทายต่อลูกน้องก่อนดีกว่าทำตัวนิ่ง ๆ หน้าบึ้ง ๆ เพราะการครองใจผู้อื่นได้นั้น เราต้องเริ่มต้นจากการให้ใจคนอื่นก่อนจำไว้ว่า เราเปลี่ยนแปลงคนอื่นไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนแปลงตัวเราเองได้ครับ

2. ตำหนิผลงานที่ผิดพลาดต่อหน้าลูกน้องคนอื่น

การเป็นหัวหน้างานที่ดีได้นั้น ต้องคำนึงเรื่อง การพูดอยู่เสมอ เพราะก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด แต่เมื่อพูดไปแล้วคำพูดจะเป็นนายเราย่อมยาก ที่จะหวนคืนกลับมา ดังนั้น จงคิดก่อนพูดทุกครั้งและอย่าใช้คำพูดที่ทำให้ลูกน้อง เสียหาย เสียหน้า เสียใจ และเสียความรู้สึก

โดยเฉพาะการตำหนิผลงานที่ ผิดพลาดต่อหน้าลูกน้องคนอื่นเป็นสิ่งที่หัวหน้างานที่ดีจะไม่ทำกัน ซึ่งหากต้องการตำหนิ ควรเรียกมาพบเป็นการส่วนตัว ย่อมดีกว่า ยกเว้นกรณีที่ผลงานของลูกน้องคนนั้นทำได้ดี ก็ควรชื่นชมต่อหน้าลูกน้องคนอื่น ๆ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป

3. ปิ ด กั้ น ความคิดเห็นของลูกน้อง

การทำงาน ส่วนที่สำคัญมาก ๆ คือ ทักษะการฟัง ฟังให้เข้าใจ และแยกแยะข้อมูลเพื่อ นำมาพิจารณาตัดสินใจ มากกว่าฟังเสียงตัวเองเพียงข้างเดียว เพราะการทำงาน คนที่รู้ดีที่สุด คือ คนที่อยู่หน้างาน หากเรากล้าเปิดใจถามลูกน้องและฟังเสียงลูกน้องด้วยความเป็นธรรม จริงใจ

เราจะได้ข้อมูลที่หลากหลายทั้งนี้ ลูกน้องคงไม่มีอำนาจตัดสินใจ แทนหัวหน้างาน แต่การได้ข้อมูลที่มาก ๆ ย่อมดีกว่าที่ไม่มีข้อมูลใด ๆ เลยจริงไหมครับ !! อีกอย่าง หากเรา ปิ ด กั้ น ความคิดของลูกน้องมากเท่าไหร่

ถึงเวลาเมื่อเราเปิดใจฟัง ลูกน้องมากขึ้นก็อาจสายเกินแก้ เพราะลูกน้องอาจไม่กล้าพูด หรือไม่อยู่พูดแล้วก็ได้ครับ

4. สื่อสารไม่ชัดเจนในการมอบหมายงาน

การมอบหมายงาน มี 2 แบบ คือ แบบปากเปล่า และลายลักษณ์อักษรทั้งนี้ การมอบหมายงานโดยเฉพาะ วาจา ทุกครั้งเวลามอบหมายงานต้องพูดให้ชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากกว่า พูดห้วน ๆ สั้น ๆ เช่น พรุ่งนี้นำงานมาส่งพี่ตอนเช้าบนโต๊ะทำงานนะจะสังเกตว่า ตัวอย่างที่ให้ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่

เพราะคำว่า “เช้า”ตีความหมายได้หลายเวลา ซึ่งหากเราไม่ได้ทวนคำพูดนั้นกลับจากลูกน้องย่อมอาจเกิดการคลาดเคลื่อนในเรื่องเวลาไม่มากก็น้อยนะครับ กลับกัน หากเราพูดว่า พรุ่งนี้นำงานมาส่งพี่ตอนเช้า เวลา 9.00 น.บนโต๊ะทำงานนะและก่อนให้ลูกน้องไปทำงาน ก็ทวนคำสั่งนั้นอีกครั้งจากกลูกน้อง

เพื่อให้การสื่อสารตรงกันทั้งผู้ส่งสาร คือ หัวหน้า และผู้รับสาร คือ ลูกน้องย่อมมีโอกาสทำให้งานเดินไปได้ อย่างราบรื่นไม่สะดุดหัวทิ่มจนงานหลุด เกิดความผิดพลาด ครับทั้งนี้ หากลูกน้องนำงานมาส่งก่อนเวลาก็ควรชมบ้างเพื่อเป็นกำลังใจแต่หาก ยังไม่ถึงเวลานัดหมาย ก็ไม่ควรไปเร่งจี้เอางานนั้นนะครับ

ยกเว้นอาจเดินไปไถ่ถาม ด้วยคำพูดเชิงการให้คำปรึกษาเช่น งานเป็นอย่างไรบ้าง ติดขัดตรงไหน ให้พี่ช่วยไหม เพื่อทำให้ลูกน้องเกิดขวัญกำลังใจที่ดีในการเป็นห่วงจากหัวหน้างาน ลองดูนะครับ

5. ทำหน้าท้อกับงานต่อหน้าลูกน้อง

บางครั้ง คนเราย่อมมีอาการ ท้อถอยกับงานได้ ซึ่งไม่ผิดหรอกครับ เป็นเรื่องปกติแต่ การท้อต่อหน้าลูกน้อง ก็ไม่ควรทำเช่นเดียวกัน เพราะหากวันนี้ หัวหน้ายังไม่เชื่อในงานนั้น ๆ ที่ทำลูกน้องก็ย่อมไม่เชื่อมั่นในตัวหัวหน้างานเช่นเดียวกันดังนั้น การเป็นอย่างที่ดีกับลูกน้องทั้งเรื่องงาน

และเรื่องส่วนตัวคือสิ่งที่หัวหน้างานที่ดีต้องคำนึงอยู่เสมอทั้งนี้ ทุกครั้งที่เจอปัญหาในการทำงาน จงอย่าเลือกคิดแก้ไขปัญหา เพียงลำพังแต่ควรใช้หลักคิดการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยให้ลูกน้องช่วยกันเสนอความคิดเห็นในการประชุมงานอาจเป็นรายวันหรือรายสัปดาห์

เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันมากกว่า ที่หัวหน้างานเอาแต่ เ ค รี ย ด อยู่คนเดียว เชื่อผมเถอะ !!การทำงานที่ดีนั้น ต้องช่วยกันโดยหัวหน้างานต้องสร้างคำว่า

ร่วมใจ ร่วมคิด และร่วมทำ

ร่วมใจ = การสร้างความไว้ เ นื้ อ เชื่อใจเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง

ร่วมคิด = ช่วยกันคิดในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ร่วมทำ = ช่วยกันสร้างผลลัพธ์ของงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน

ทั้ง 5 ข้อ คือ สิ่งที่ผู้นำไม่ควรทำ ต่อ ลูกน้องในการปกครอง บริหารทีมลองสำรวจตนเองนะครับ ว่าทุกวันนี้เรามี 5 ข้อที่ผมกล่าวถึงหรือไม่หากมีก็ควรปรับปรุงแก้ไขคิดถึงเสมอว่า ใจเขาใจเรา

เราอยากได้อย่างไรต่อผู้อื่น ก็ควรทำแบบนั้น ก่อนเสมอครับ จำไว้ว่า เราเลือกผู้นำเราไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะเป็นผู้นำที่ดี และเป็นผู้นำที่ภาวะผู้นำได้ครับ

ขอขอบคุณ d r f i s h.t r a i n i n g

Load More Related Articles
Load More By adminyinde
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

12 อย่าง อย่าคิดโพสต์ลงโซเชียล เพราะอาจทำให้ชีวิตคุณแย่ลง

ทุกวันนี้ เราจะเห็นหลายๆ คน แ ช ร์ เรื่องราวต่างๆลงบน F a c e b o o k ของตนเองเต็มไปหมดเพร…