Home ข้อคิดสอนใจ 10 เทคนิคเก็บเงินแบบจริงจัง ไม่มีคำว่าสาย..สำหรับคนตั้งใจ

10 เทคนิคเก็บเงินแบบจริงจัง ไม่มีคำว่าสาย..สำหรับคนตั้งใจ

3 second read
0
826

ฝึกนิสัยการออม เพื่อเป็นต้นทุนในอนาคต

การออมเงิน เป็นวิธีการสะสมทุนทรัพย์เพื่อใช้จ่ายในอนาคต ซึ่งการมีแผนสำรองหรือมีเงินสำรองไว้ประกันความไม่แน่นอน ในอนาคตเป็นสิ่งที่ควรกระทำ และการออมเงินก็เป็นหนึ่งในการป้องกันความ เ สี่ ย ง นั้น

โดยปกติแล้วผู้คนมักจะตั้งเป้าการออม เพื่อหาวิธีที่สอดรับกับตัวเอง อาจจะฝึกออมเงิน 1 เดือน, 3 เดือน หรือ 1 ปี ตามแต่ความเหมาะสม ซึ่งการออมโดยกำหนดระยะเวลา 1 เดือนนี้

มีข้อดีที่ระยะเวลาสั้น สามารถเห็นผลได้รวดเร็ว เหมาะกับการหาแรงบันดาลใจ ในการเริ่มต้นเก็บเงิน

ข้อดีของการออมเงิน

การเริ่มต้นออมเงินมีประโยชน์หลายอย่าง โดยการออมจะส่งผลดี ต่อตัวผู้ออมเอง สรุปประโยชน์หลัก ๆ ของการออมได้ดังนี้

– ฝึกวินัยในการใช้จ่าย

– รู้จักวางแผน การใช้เงินในอนาคต

– เห็นคุณค่าของเงิน

– ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ เพราะการออมต้องทำเป็นลำดับขั้นตอน

วิธีการออมเงินที่เห็นผลใน 1 เดือน

วิธีการเก็บเงินออม 1 เดือนที่ได้รับความนิยม มี ดังนี้

1. เก็บเฉพาะแบงก์หรือเหรียญที่กำหนด

วิธีที่ได้ รับความนิยมมาก คือ การงดใช้แบงก์ หรือเหรียญบางชนิด เช่น บางคนไม่ใช้แบงก์ 50 บาท

เมื่อได้รับแบงก์ 50 บาทมา จะต้องเก็บเท่านั้น หรือบางคนอาจจะเลือกเก็บเหรียญ 10 บาทแทนก็ได้

ข้อดี จดจำง่าย ไม่มีการกำหนด ต า ย ตัวถึงจำนวนเงินที่ต้องเก็บในแต่ละวัน

ข้อเสีย หากได้รับเงินทอนเป็นแบงก์หรือเหรียญแบบที่กำลังเก็บอยู่ การใช้จ่ายจะลำบากมากขึ้น

2. สะสมเงินทุกวันตามวันที่

การเก็บเงินโดยเพิ่มมูลค่า ขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการเก็บเงินตั้งแต่ต้นเดือน นับวันที่ 1 แล้วเก็บ 1 บาท

วันที่ 2 เก็บ 2 บาท จนถึงวันสุดท้ายเก็บ 28, 29, 30 หรือ 31 บาท แล้วแต่วันที่สุดท้ายของเดือน

ข้อดี เริ่มต้นด้วยตัวเลขน้อย ๆ จูงใจให้อยากเก็บเงิน

ข้อเสีย ได้เงินเก็บน้อย เพราะครบ 1 เดือน จะได้มากสุดเพียง 470 บาท เหมาะกับการเก็บครึ่งปีหรือรายปีมากกว่า

3. กำหนดเงินเก็บตามเหตุการณ์

วิธีนี้ได้รับความนิยม เป็นอย่างมากสำหรับคนที่มีแรงบันดาลใจในบางอย่าง เช่น ชื่นชอบศิลปินหรือดารา

จึงมีการกำหนดเงินเก็บอิงตามการปรากฏตัวตามสื่อต่าง ๆ เช่น ออกงานใหญ่ เก็บ 100 บาท

โพสต์สเตตัส ลงบนสังคมออนไลน์ เก็บ 150 บาท

ข้อดี เป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการออมควบคู่ไปกับการติดตามสิ่งที่ชอบไปพร้อม ๆ กัน

ข้อเสีย ไม่สามารถกำหนดเงินออมได้ บางครั้งอาจต้องออมเงินเป็นจำนวนมาก ในขณะที่บางคราวอาจไม่ได้ออมเงินเลย

4. ให้เงินรายวันตัวเอง

การจำกัดรายจ่ายของตัวเองจะช่วย ให้การใช้จ่ายในแต่ละวันลดน้อยลง โดยต้องมีการวางแผนตั้งแต่เงินเดือนออก

แล้วตัดแบ่งส่วนที่ต้องการออมเก็บไว้ เงินที่เหลือจึงมาถัวเฉลี่ยสำหรับใช้จ่ายในแต่ละวัน

ข้อดี สามารถกำหนดเงินออมเองได้ และแน่นอนในทุกเดือน

ข้อเสีย อาจต้องลดค่าใช้จ่ายบางส่วนเพื่อให้เงินพอใช้ในแต่ละวัน

5. เปิดบัญชีฝากประจำ

การเปิดบัญชี ฝากประจำเป็นการเปิดบัญชี แบบถอนไม่ได้ ผู้เปิดจะต้องฝากเงินให้ครบตามที่กำหนด

อาจมีการให้ธนาคารดึงเงินจากเงินเดือน เก็บเข้าบัญชีฝากประจำได้เลย รวมไปถึงการลงทุนในกองทุนรวมด้วย

ข้อดี สะดวกในการฝาก ธนาคารจะดึงเงินบางส่วนจากเงินเดือนไปเก็บไว้ให้

ข้อเสีย อาจเกิดปัญหาเงินเดือนไม่พอใช้

6. เก็บจากเศษเงินเดือน

เงินเดือนในแต่ละเดือน มักจะมีเศษเงินที่ไม่ลงตัวหลังจากหักค่าสมทบประกันสังคมแล้ว

เงินส่วนที่เป็นเศษนั้นให้เก็บไว้ และใช้เฉพาะยอดที่เป็นจำนวนเต็ม

ข้อดี มีเงินเก็บสม่ำเสมอทุกเดือน

ข้อเสีย เก็บได้ในจำนวนที่น้อย

7. บันทึกรายรับ-รายจ่าย

การจด บันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นประจำจะช่วยให้เห็นเงินที่ใช้จ่ายในแต่ละวัน ก ร ะ ตุ้ น

ให้เกิดการออมเมื่อเห็นยอดใช้จ่าย และช่วยในการตัดยอดซื้อที่ไม่จำเป็นออกไปได้

ข้อดี ช่วยให้การออมเป็นระบบมากขึ้น แบ่งค่าใช้จ่ายเป็นสัดส่วน

ข้อเสีย กดดันตัวเองจนเกินไป โดยเฉพาะเมื่อใช้จ่ายกับสิ่งที่เสียดายภายหลัง

8. ใส่กระปุกที่เปิดไม่ได้

กระปุกออมสิน เป็นตัวช่วยสำคัญในการออม และกระปุกแบบที่ไม่มีช่องสำหรับเอาเงินออกมา

ต้องทุบกระปุกทิ้งเท่านั้นก็เป็นสิ่งที่ช่วยบังคับให้การออมบรรลุผล

ข้อดี มีเงินออมรออยู่ในกระปุกแน่นอน

ข้อเสีย ไม่สามารถหยิบเงินออกมาใช้จ่ายในยามจำเป็นได้

9. งดอาหารหรือสินค้าฟุ่มเฟือยประจำวัน

การออมที่ดี จะต้องเริ่มต้นด้วยการมีเงินเหลือออม การจะทำให้มีเงินเหลือจึงจำเป็นต้องตัดค่าใช้จ่าย

บางอย่างที่ไม่จำเป็นออกไป มีการลดค่าใช้จ่ายบางส่วน โดยมากมักลดอาหารทานเล่น

เช่น ลดกาแฟเหลือเพียงวันละแก้ว หรืองดขนมขบเคี้ยวหลังพักเที่ยง

ข้อดี ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้มีเงินออม

ข้อเสีย รู้สึกการใช้จ่ายไม่คล่องมือ เพราะเกิดการตัดการใช้จ่ายบางส่วนทิ้งไป

10. เผื่อเวลาตัดสินใจก่อนซื้อของ

ก่อนจะตัดสินใจ ซื้อสินค้ามูลค่าสูงสักชิ้น ควรต้องให้เวลาในการทบทวนเสียก่อน

เมื่อแน่ใจว่าอยากได้จริง ๆ จึงค่อยซื้อ รวมถึงมองหาโปรโมชั่นทั้งของทางร้าน โปรโมชั่นบัตรเครดิต

และโปรโมชั่นบัตรสมาชิกต่าง ๆ เพื่อให้การใช้จ่ายถูกลง ไม่เบียดบังเงินออม

ข้อดี การซื้อของจะได้สิ่งของที่อยากได้จริง ๆ ไม่ค่อยซื้อมาทิ้งเฉย ๆ

ข้อเสีย ต้องใช้ความอดทนและการหักห้ามใจระหว่างพิจารณา รวมถึงสินค้าบางชิ้นอาจจะหมดลงก่อน

วิธีการออมเงิน

การออมเงินเป็นการวางแผน การใช้เงินที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง เมื่อฝึกจนมีความเคยชินจะสามารถออมเงินในระยะยาวได้

และเงินออมส่วนนี้จะเป็นเงินสำรองไว้ในยามฉุกเฉิน อาจจะมีการต่อยอดเป็นเงินลงทุนเพื่อให้มีกำไรงอกเงย

หรืออาจจะสมัครบัตรเครดิต เพื่อฝึกวินัยในการใช้เงินและช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายเมื่อต้องการซื้อสินค้ามูลค่าสูง

ทำให้ไม่ต้องใช้เงินครั้งละมาก ๆ และมีเงินออมเหลือเก็บในแต่ละเดือนดังเดิม

ขอขอบคุณ k t c

Load More Related Articles
Load More By adminyinde
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

12 อย่าง อย่าคิดโพสต์ลงโซเชียล เพราะอาจทำให้ชีวิตคุณแย่ลง

ทุกวันนี้ เราจะเห็นหลายๆ คน แ ช ร์ เรื่องราวต่างๆลงบน F a c e b o o k ของตนเองเต็มไปหมดเพร…