Home ข้อคิดสอนใจ เมื่อแก่ตัวลง ไม่มีใครเลี้ยงดู จะวางแผนการเงินอย่างไร

เมื่อแก่ตัวลง ไม่มีใครเลี้ยงดู จะวางแผนการเงินอย่างไร

11 second read
0
66

การวางแผนเกษียณ ควรวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการเกษียณอายุ การทำงานควบคู่ไป กับการวางแผนอาชีพในปัจจุบันของตัวเองที่สำคัญ คือ ควรลงมือทำทันทีอย่ารีรอ และอย่าผลัดวันประกันพรุ่งเพราะถ้าคุณมีเป้าหมาย

และแผนเกษียณการทำงานที่ชัดเจนก็จะทำให้คุณ เกษียณอายุไปแล้วยังมีอาชีพรองรับ สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และไม่สร้างภาระให้กับครอบครัว เป้าหมายการเกษียณของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน

บางคนบอกว่าตั้งเป้าเกษียณอายุไว้ที่ 45 ปี 50 ปี 55 ปีหรือ 60 ปี การเงินธนาคารมีข้อมูลดีๆ ที่แนะนำ 7 เคล็ดลับ เตรียมตัวเกษียณที่คุณสามารถเริ่มได้ทันที

1. สร้างกองทุน เพื่อการเกษียณเพิ่ม

นอกเหนือจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว คุณควรสร้างบัญชีลงทุนเป็นกองทุนเพื่อการเกษียณเพิ่มและแยกกองทุน

เพื่อการเกษียณออกจากเงินลงทุนส่วนอื่นๆเพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันทำให้แผนเกษียณของคุณต้องสะดุด

2.เริ่มออมเงิน

คุณควรเริ่มออมเงินตั้งแต่ตอนนี้ เพราะนิสัยการออมจะตอบแทนคุณในอนาคตอาจจะเริ่มจาก เงินจำนวนไม่มากแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

โดยให้ความสำคัญกับการออมเพื่อการเกษียณเป็นอันดับแรกพร้อม หมั่นทบทวนแผนและมีวินัยในการออมเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย เพราะไม่มีคำว่าสายสำหรับการออม

3.สร้างนิสัย การออม

หากคุณ มีสวัสดิการกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)คุณควรใช้โอกาสนี้ออมเงินเข้ากองทุนให้มากที่สุด

เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สร้างนิสัยการเก็บออม และสร้างรากฐานชีวิตในวัยเกษียณที่ดีให้กับตัวคุณเอง

4.รู้จักตัวเอง

การเกษียณ คือ การปล่อยวางจากชีวิตการทำงาน และเริ่มใช้ชีวิตใหม่ด้วยเงินก้อน ที่คุณเก็บออมไว้มนุษย์เงินเดือนแต่ละคนจะมีแผนการเกษียณแตกต่างกันออกไปตามมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ต้องการ

ซึ่งจะสอดคล้องกับเงินออมที่สะสมมาก่อนเกษียณ ดังนั้น การวางแผนเกษียณจึงมีบทบาทสำคัญเพื่อหาจุดสมดุลระหว่าง เงินออมและคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณ

5. ศึกษาแผนลงทุน ที่เหมาะกับตัวเอง

คุณควรศึกษา แผนลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพราะการเลือกแผนการลงทุนที่เหมาะกับตัวคุณจะช่วยเปิดรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

เพื่อสร้างชีวิตในวัยเกษียณที่มีคุณภาพ และช่วยหลีกเลี่ยงการแบกรับความ เ สี่ ย ง ที่คุณไม่สามารถยอมรับและเข้าใจได้

แต่ควรระมัดระวังการเปิดรับความ เ สี่ ย ง ที่น้อยเกินไป เพราะอาจทำให้ยากต่อการไปถึงเป้าหมาย

6. หมั่นศึกษา หาความรู้เรื่องการลงทุน

นอกจาก การออมเงินแล้ว การนำเงินออมบางส่วน ไปลงทุนก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้น คุณควรหมั่นศึกษาประเภทของสินทรัพย์การลงทุน

เพราะจะช่วยเปิดโอกาสการลงทุน และช่วยลดความ เ สี่ ย ง โดยรวมด้วยการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่หลากหลายมากขึ้น

7. เก็บแล้วเก็บเลย

คุณไม่ควรใช้เงินจากกองทุน เพื่อการเกษียณก่อนกำหนด เพราะหากคุณ นำเงินในกองทุนเพื่อการเกษียณออกมาใช้ก่อนถึงวัยเกษียณคุณไม่เพียงจะสูญเสียเงินต้นที่ลงทุน

แต่คุณยังสูญเสีย ผลตอบแทนที่คุณควรจะได้ในอนาคต ซึ่งหมายถึงคุณภาพชีวิตในวัยเกษียณที่ลดลง

ขอขอบคุณ m o n e y a n d b a n k i n g

Load More Related Articles
Load More By adminyinde
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

12 อย่าง อย่าคิดโพสต์ลงโซเชียล เพราะอาจทำให้ชีวิตคุณแย่ลง

ทุกวันนี้ เราจะเห็นหลายๆ คน แ ช ร์ เรื่องราวต่างๆลงบน F a c e b o o k ของตนเองเต็มไปหมดเพร…