
ก่อนที่เราจะเริ่มต้น การออมเงินได้นั้น สิ่งแรกที่สำคัญคือ การบริหารเงินที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง เพราะถ้าหากเรามัวแต่สนใจในเรื่องของการออมเงินจนไม่ได้มองถึงจุดอื่นในที่สุด
แล้วเงินที่เก็บออมไว้ก็ต้องถูกใช้จ่ายออกไปอยู่ดี วันนี้ก็เลยขอหยิบเอาวิธี การบริหารรายได้แบบง่าย ๆ ที่สามารถทำได้จริง แถมยังเป็นวิธีที่ช่วยบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน การเงินมากมาย วิธีนี้เรียกว่า JARS System ค่ะ JARS System เป็นหนึ่งในวิธีการบริหารเงินที่มีประสิทธิภาพ คิดค้นขึ้นโดย T Harv Eker
นักพูดและนักคิดทางด้านการเงินการลงทุน เจ้าของหนังสือ S e c r e t s of the Mil lion a i r e Mind เมื่อปี 2007 ซึ่งเป็นวิธี ที่ง่ายและมีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง ใจความสำคัญของทฤษฎีนี้
คือการแบ่งรายได้ที่ได้รับทั้งหมดต่อเดือนออกเป็น 6 ส่วน โดย T Harv Eker ได้ใช้โหล เป็นสัญลักษณ์แทนในแต่ละส่วน และในแต่ละส่วนนั้นก็จะมีเปอร์เซนต์ในการแบ่งรายได้ที่แตกต่างกันดังนี้
โหลใบที่ 1 – โหลเพื่อความจำเป็น
เงินในส่วนนี้ เป็นเงินที่จะถูกแบ่งไว้ เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มเติม
เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมันรถ และหนี้สินต่าง ๆ โดยคิดเป็น 55% ของรายได้ทั้งหมด
โหลใบที่ 2 – โหลเพื่อการพักผ่อน
10% ของรายได้ทั้งหมดในส่วนนี้จะเป็นเงินที่นำไปใช้จ่ายส่วนตัวตามใจชอบ
ถือเป็นรางวัลสำหรับความเหนื่อยยากในการทำงานแต่ละเดือน เป็นเงินที่คุณ
จะสามารถใช้ได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องพะวงหน้าพะวงหลัง
โหลใบที่ 3 – โหลเพื่อการลงทุน
เพื่อความมั่ น ค งทางการเงินยามเกษียณ การลงทุนถือเป็นเรื่องสำคัญและขาดไม่ได้
โดยการลงทุนมีอยู่หลายรูปแบบให้เลือกตามความชอบ อาทิ กองทุน, หุ้น, ประกันแบบสะสมทรัพย์,
เงินฝากด อ กเ บี้ ยสูง, สลากออมสิน หรือการซื้อสินทรัพย์เพื่อเก็งกำไร เป็นต้น โดยคิดเป็น 10 % ของรายได้ทั้งหมด
โหลใบที่ 4 – โหลเพื่อการแสวงหาความรู้
ไม่มีคำว่า สายเกินไปสำหรับการเรียนรู้ ดังนั้น ลองแบ่งเงินสัก 10% ของรายได้ทั้งหมด
ผันเป็นเงินเพื่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งไม่จำเป็น ต้องจำกัดอยู่ที่การสมัครเรียนเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงการซื้อหนังสือ การอบรมสัมมนา และการเข้าเวิร์กช็อปในสิ่งที่ตัวเองสนใจ
โหลใบที่ 5 – โหลเพื่อการให้
การอยู่ร่วมกันในสังคมเราควรรู้จัก แ บ่ ง ปั น ฉะนั้น เราควรจัดสรรเงิน 5% ของรายได้ทั้งหมด
เพื่อ บ ริจ า ค หรือให้การช่วยเหลือองค์กรการกุศลต่าง ๆ รวมถึงซื้อของขวัญ
ให้กับคนใกล้ชิดในโอกาสพิเศษ เป็นต้น
โหลใบที่ 6 – โหลเพื่อการออม
การวางแผนและตั้งเป้าหมายค่าใช้จ่ายในระยะยาว เช่น เบี้ยประกันชีวิต ต่อประกันรถยนต์ ซื้อบ้าน
วางแผนแต่งงาน ค่าเล่าเรียนของลูก เป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้นเราควรจัดสรรเงิน 10% ของรายได้ทั้งหมด
เพื่อเก็บออมไว้ใช้ตามแผนที่ได้วางไว้ หากคุณเก็บเงินได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
เมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้จ่าย คุณจะสบายใจเพราะ มีเงินใช้จ่าย โดยไม่ต้องไปหยิบยืมคนอื่น
ให้เป็นหนี้อย่างไรก็ตาม นอกจากการออมเงิน เพื่อใช้จ่ายในระยะยาวแล้วหากลองมองไกลกว่านั้น
วันใดที่เราอายุ 60 ปี ก้าวสู่วัยเกษียณที่ สุ ข ภ า พ อาจเริ่มทรุดโทรม ไม่ได้มีเรี่ยวแรงทำงานเหมือนตอนนี้
เราจะทำอย่างไร ? แล้วเราเตรียมเงินออมไว้เพียงพอสำหรับอนาคตแล้วหรือไม่ ยิ่งถ้าใครมีรายได้ไม่แน่นอน
เมื่อถึงเวลาเกษียณ คิดไว้หรือยังว่าหาเงินที่ไหนมาซื้อหาอาหาร จะหาเงินที่ไหนมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
เพราะไม่ได้มีบำเหน็จ-บำนาญเหมือน ข้าราชการ หรือพนักงานบริษัท แต่ปัญหานี้จะหมดไป
เพียงคุณออมเงินกับกองทุน การออมแห่งชาติ (กอช.) ที่สามารถเริ่มออมขั้นต่ำแค่ 50 บาท
แถมยังมีความยืดหยุ่นสูง มีมากออมมาก มีน้อยออมน้อย ไม่บังคับต้องส่งทุกเดือน
โดยที่ยังได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เหมือนเดิม อีกทั้งยังได้เงินสมทบจากรัฐบาลสูงสุด 100%
และผลตอบแทน จากการลงทุน ช่วยให้อุ่นใจว่าจะมีเงินบำนาญใช้เมื่อถึงวัยเกษียณแน่นอน
ถือเป็นการบริหารจัดการรายได้ ที่น่าสนใจไม่น้อย แถมยังเป็นวิธีที่ดูแล้วไม่ โ ห ด ร้ า ย เกินไป
สำหรับคนที่มีรายได้น้อย อีกด้วย ถ้าวันนี้คุณเป็นคนหนึ่งที่คิดจะปรับเปลี่ยนวินัยการเงิน
และอยากจะสร้างพื้นฐาน ทางการเงินที่ดีไว้ตั้งแต่วันนี้จนถึงยามเกษียณ ลองบริหารเงินแบบ 6 โหลกันดูนะคะ
ขอขอบคุณ m o n e y.k a p o o k