Home ข้อคิดสอนใจ อายุเข้าวัย 30 แล้ว ต้องคิดเรื่องพวกนี้..ได้แล้วนะ

อายุเข้าวัย 30 แล้ว ต้องคิดเรื่องพวกนี้..ได้แล้วนะ

13 second read
0
59

คนอายุ ในวัย 30 หลายคนอาจจะกำลังตั้งตัวได้ บางคนก็ประสบความสำเร็จได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่บางคนก็ยังไม่รู้ว่า ชีวิตตัวเองจะต้องเดินไปทางไหน

ยังติดเล่นติดเที่ยวเหมือนตอนเป็นวัยรุ่น อยากให้ทุกคนที่เข้าใกล้เลขวัย 30 ฟังไว้ หรือใครที่ถึง 30 แล้วยิ่งต้องฟังให้ดี เพราะความเป็นผู้ใหญ่ของคุณมันเริ่มจากตรงนี้

ช่วงอายุ 10-19 เราเป็นวัยรุ่น

ช่วงอายุ 20-29 เราเป็นผู้ใหญ่สมัครเล่น

ช่วงอายุ 30-40 เราเป็นผู้ใหญ่จริงๆ

เมื่อเราอายุ 30-40 จะเป็นตัวบ่งบอก ว่าคุณจะแก่ตัวไปเป็นยังไง คุณจะกลายเป็นคนแก่ ที่ต้องใช้ชีวิตยากลำบาก ไม่มีจะกิน หรือคุณจะกลายไป เป็นคนแก่ที่มี หลักมีฐานในชีวิต ดูมั่นคง นั่นเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการกระทำของคุณตอนอายุ 30-40 ปี

แล้วหลังจากนั้นเมื่อคุณอายุ 60 ปีเป็นต้นไป คุณจะต้องอยู่กับสิ่งที่คุณทำมาตลอดทั้งชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติที่หามาได้ หรือหนี้สิน ที่คุณสร้างไว้ก่อนหน้านั้นหรือแม้แต่ สุ ข ภ า พ ของคุณเอง ก็เกิดจากการดูแลของคุณตั้งแต่วัยยังหนุ่มสาว

ตอนที่คุณอายุน้อยๆ ทำงานหนักๆ ใช้ชีวิตแบบสุดโต่ง คุณอาจจะยังไม่เป็นอะไร ยังดูเหมือนว่า ร่ า ง ก า ย ยังแข็งแรงดี แต่เมื่อคุณแก่ตัวมา ทุกอย่างที่คุณทำกับ ร่ า ง ก า ย จะปรากฏให้คุณเห็นตอนช่วงอายุ 50-60 นี่แหละ

การวางแผนเพื่อเข้าสู่วัย 30 เริ่มต้นด้วย 6 ข้อดังนี้

1. ต้องรู้ตัวเอง ว่าระหว่าง หนี้สิน กับ ทรัพย์สิน มีอะไรมากกว่ากัน

เราต้องหันมาสำรวจตัวเองก่อนว่า ตอนนี้เราอยู่ในจุดไหน สำหรับรายการค่าใช้จ่าย มีหนี้สิน หรือ ทรัพย์สินมากกว่ากัน บางคนคิดว่าเรา ก็มีของมีค่าที่ซื้อมาในมูลค่ามากๆเยอะแยะ แต่ทำไมกลับยังมีหนี้สินอยู่มากมาย เพราะบางคนมักจะซื้อของที่ลดมูลค่า

ไม่ใช่ของที่เพิ่มมูลค่า อย่างเช่น รถยนต์, สมาร์ทโฟน ที่มูลค่ามักจะลดลงเรื่อยๆ แทนที่จะสะสมทรัพย์สิน ที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ อย่างเช่น ทองคำ, หรือการนำเงินไปลงทุนใน หุ้น กองทุนรวม

2. มีเงินเก็บสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เดือน

เงินสำรองฉุกเฉิน ควรเป็นเงินที่สามารถถอนออกมาใช้ได้ตลอดเวลา ที่เราต้องการ หรือทรัพย์สินที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในทันที เพื่อที่ว่าเวลาเราจำเป็นต้องใช้เงินทันที จะสามารถเอามาได้เลย แต่เงินสำรองของแต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน

เพราะแต่ละคนก็มีภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นเราต้องคำนวณจากรายจ่ายปกติ ต่อเดือนของเรา ตั้งแต่ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่างวดรถ ค่าเช่าบ้านผ่่อนบ้าน ค่าอยู่ค่ากิน

ถ้าเรามีรายจ่ายเดือนละ 20,000 เราต้องมีเงินสำรอง 20,000×6 = 100,000 ไว้สำหรับเหตุฉุกเฉิน อย่างเช่น ตกงานกระทันหัน เพื่อให้เรายังมีเงินใช้จ่ายในระหว่างที่หางานใหม่

3. สร้างงบการเงินของตัวเอง

เราต้องรู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเรามีภาระอะไรต้องจ่าย และสามารถที่จะเก็บออมได้ เท่าไหร่ของรายได้ จากนั้นเราก็แบ่งสัดส่วนเงินออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ โดยใช้สูตร 50-30-20 (50% ใช้จ่ายสำหรับสิ่งที่จำเป็น

ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำค่าไฟ ค่าผ่อนงวดรถ ค่าผ่อนบ้าน ค่าอยู่ค่ากิน 30% ไว้ใช้สำหรับสิ่งที่เราอยากได้ และอีก 20% ให้เก็บออมไว้) ควรแบ่งเงินตั้งแต่ วันที่เงินเดือนออก เพราะคนส่วนใหญ่มักจะออมเงินหลังจากใช้จ่ายไปหมดแล้ว สุดท้ายก็ไม่เหลือเงินให้ออม

4. ทยอยปลดหนี้ให้หมด

หากใคร ที่ยังมีหนี้สินอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ค่างวดรถ ค่าบัตรเครดิต หรือผ่อน 0% ของสินค้าต่างๆ ต้องแบ่งเงินให้ดีและทยอยปิดไปทีละยอดให้หมด เพราะถ้าหากเรายังมีหนี้สิน

ก็ยากที่จะมีเงินไปต่อยอด แถมยังต้องมากังวลกับเจ้าหรี้อีก ดังนั้น ควรจัดลำดับการปลดหนี้ โดยเริ่มจากเจ้าหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง แล้วไล่ไปก้อนอื่นๆตามลำดับจนครบทุกก้อน

5. วางแผนเกษียณ

ยิ่งเราสามารถวางแผน การเกษียณได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นผลดีกับตัวเราได้เร็วเท่านั้น หลายคน มักจะใช้ชีวิตไปแบบวันต่อวัน หรือเดือนชนเดือนจนเคยชิน จนลืมที่จะนึกถึงการเกษียณของตัวเอง

ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ที่เราจะต้องรีบวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ ตอนอายุยังน้อย เพราะเราก็จะได้มีเวลาเก็บเงิน และหาหนทางในการทำเงิน เพื่อไปถึงเป้าหมายของตัวเองได้เร็วยิ่งขึ้น

ถ้ายิ่งคิดได้ช้า เราก็จะยิ่งต้องเหนื่อยมากขึ้น กับช่วงเวลาที่ใกล้เข้ามาทุกที

6. ศึกษาเรื่องภาษี

การจ่ายภาษี ถือเป็นเรื่องที่ทุกคน ต้องศึกษาและเรียนรู้ไว้ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวของเรา ไม่ว่าจะเป็น การลดหย่อนภาษี การละเว้นภาษี รวมถึง ก ฏ ห ม า ย ที่เกี่ยวข้องกับภาษี

เพราะยิ่งมีรายได้มากภาษีที่ต้องจ่ายก็ยิ่งมากตามไปด้วยหากเรามีความรู้ในด้านนี้ เราก็จะได้ทำให้ถูกต้องตาม ก ฏ ห ม า ย และให้เกิดประโยชน์กับตัวเราได้มากที่สุด

ขอขอบคุณ b i t c o r e t e c h

Load More Related Articles
Load More By adminyinde
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

12 อย่าง อย่าคิดโพสต์ลงโซเชียล เพราะอาจทำให้ชีวิตคุณแย่ลง

ทุกวันนี้ เราจะเห็นหลายๆ คน แ ช ร์ เรื่องราวต่างๆลงบน F a c e b o o k ของตนเองเต็มไปหมดเพร…