
1. พูดจาแนะนำ สอนสั่ง โดยไม่ให้เกียรติ
“โชคดีแค่ไหนแล้ว ที่ยังมีงานให้ทำในช่วงวิกฤตแบบนี้”, “พี่ขอร้องเถอะนะไม่ต้องคิดที่จะทำอะไรเองเลย พี่เป็นหัวหน้า แค่ทำตามที่ พี่สั่งก็พอ เข้าใจไหม โอเค้” ฯลฯลักษณะคำพูดทำนองนี้ ถือเป็นพฤติกรร มที่ไม่ควรทำเพราะลูกน้องของเรา ก็เป็นผู้ใหญ่ เป็นเพื่อนร่วมงานของเรา
ซึ่งการสอนผู้ใหญ่จะไม่เหมือนกับการสอนลูก สอนเด็ก คนทำงานทุกคนมีประสบการณ์การทำงาน มาก่อนไม่มาก ก็น้อย พวกเขาต้องการแรงจูงใจต้องการประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำตามที่เราแนะนำ What’s in it for me?ลูกน้องทุกคนต้องการความเคารพ
การให้เกียรติเช่นเดียวกันกับเรา ซึ่งไม่ใช่ไปยกมือไหว้หรือยกยอปอปั้นเขาแต่เป็นการให้เกียรติในมุมมอง การทำงานของเขาและประสบการณ์การทำงานของเขา
2. ตำหนิลูกน้องต่อหน้าเพื่อนร่วมงานคนอื่น
“ทำไมคุณถึงมีปัญหา อยู่คนเดียวคนอื่นเขาไม่เห็นมีปัญหา แบบนี้เลย”, “คุณอยากได้นู่นได้นี่ แต่ผลงานไม่เห็นเคยมีปรากฎเหมือนคนอื่นเลยนะ สักแต่พูดแต่ คุณไม่เคยทำได้เลย” ฯลฯถ้อยคำตำหนิ ต่อว่าลูกน้องทำนองนี้ต่อหน้าเพื่อนร่วมงาน และลูกน้องคนอื่นๆ
รวมถึงการเปรียบเทียบว่าคนหนึ่งดีแต่ อีกคนไม่ดีเป็นการทำให้คนเสียหน้า เสียใจเสียความรู้สึก ซึ่งเป็นสิ่งที่หัวหน้าไม่ควรทำ อย่างยิ่งคำแนะนำ ในการปรับเปลี่ยนคือควรเรียกลูกน้องเข้ามาพูดคุยเป็นการส่วนตัว แล้วพูดถึง พฤติกรร มที่เฉพาะเจาะจงของเขาไปเลยว่าทำอะไรผิดพลาด
เราอยากให้เขาปรับปรุงแก้ไข อย่างไรเช่น คุณมาสาย 2 ครั้งสัปดาห์นี้ 8.30 น. และ 9.45 น.ในขณะที่ต้องเข้างาน 8.00 น. ตรง ผมขอให้มาทำงานให้ตรงเวลานะแล้วเริ่มประชุม ตอน 8.15 น. ตามที่เคยตกลงไว้ คุณเป็นคนสำคัญที่จะใส่ความคิดสร้างสรรค์ให้กับทีมงาน คุณทำได้ไหม คิดเห็นอย่างไร
3. ปิดกั้ น ความคิดเห็น และไอเดียของลูกน้อง
หลายครั้ง หัวหน้า หลายๆ คน ก็มักชอบพูดทำนองว่า “ไอ้ที่เสนอมามันก็ดีนะแต่ว่าก็ลองกันมาหมดแล้ว มันไม่เวิร์ค อย่าเสียเวลาเลย” ฯลฯ ประโยคแบบนี้เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หัวหน้า ต้องหยุดพูดเพราะหน้าที่ของหัวหน้าที่ดีคือ ต้องพยายามสร้างสรรค์ให้ลูกน้องกล้าพูดกล้านำเสนอ “Encourage People to bring their brain to work.”
ต้องสนับสนุนให้ทุกคนใช้ ส ม อ ง ในการทำงานไม่ใช่หัวหน้าเก็บเอาไว้ คิดคนเดียวทำทุกอย่างคนเดียว เอา Task List เอางานกลับไปทำที่บ้านคนเดียวจนเหนื่อยท้อหัวหน้าที่ดีจะต้องสนับสนุน ให้ทุกคนทำงาน
เพื่อให้เขาเติบโตเพราะเขาเองก็สามารถทำได้ดี และอยากทำให้ดีที่สุดในอาชีพของเขาด้วยเหมือนกัน
4. ทำให้ความผิดของพนักงานส่วนน้อย กระทบกับบรรยากาศการทำงานโดยภาพรวม
เช่นในกรณี แค่เรื่องมาสายของลูกน้องคนเดียว แต่เราโกรธมากเพราะรู้สึกว่าเขาไม่รับผิดชอบ เห็นแก่ตัว จึงออกคำสั่งกับลูกน้องทุกคนว่า “การมาสายเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ต่อไปนี้ทุกคนต้องมาทำงานให้ตรงเวลา
ไม่เช่นนั้น จะถูกลงโทษอย่าง รุ น แ ร ง” พร้อมกับส่งอีเมลกำชับ ให้ทราบโดยทั่วกันการกระทำลักษณะนี้ ของหัวหน้า ถือเป็นการเอาความผิดเล็กๆของคนๆ เดียวมาเหมารวมทุกคน ทำให้เป็นเรื่องใหญ่
เอาความผิดของคน 1 คนมาทำล าย ขวัญกำลังใจ และบรรยากาศในการทำงานจนหมดสิ้นซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีกับลูกน้องทุกคนเป็นวงกว้างเวลาที่เราต้องการจะปลุกใจคน
ดึงพลังของคนขึ้นมาบรรยากาศถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เราบังคับให้ม้ากินน้ำไม่ได้ แต่เราจูงม้าไปที่แม่น้ำ และสร้างบรรยากาศให้ม้าอยากกินน้ำได้ด้วยการทำให้เห็นม้าตัวอื่นกินน้ำ กินน้ำแล้วมีความสุข จนเกิดความอยากกินตามไปด้วย
เพราะฉะนั้น หน้าที่ของหัวหน้าจึงต้องพึงระวังคำพูด รวมถึงท่าทางและน้ำเสียงของตัวเองเพื่อรักษาบรรยากาศที่ดีในการทำงานเอาไว้ให้ได้ รักษ าขวัญและกำลังใจของลูกน้องเอาไว้ให้ได้
5. กล่าวคำชมเชยแบบไม่เฉพาะเจาะจง
บางครั้ง หัวหน้าก็ อยากสวมบทบาท เป็นนางฟ้าที่คอยชื่นชมให้กำลังใจ พนักงานแต่คำชมของเราบางทีก็กว้างเกินไป ไม่เฉพาะเจาะจง จนบางครั้งลูกน้องรู้สึกว่า “หัวหน้าเสแสร้ง” เช่น Oh! Nice job everybody, today you did a good job. “วันนี้ทุกคนทำดีมาก โอ้ ประเสริฐ ยอดเยี่ยม”
คำชมทำนองนี้ มีลักษณะกว้างเกินไป ควรปรับให้มีความเฉพาะเจาะจง ลงไปเลย เช่น วันนี้ตอนที่น้องแก้ปัญหา ให้ลูกค้า น้องใช้เทคนิคการแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงประเด็นน้องใช้น้ำเสียงไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส พี่ขอบคุณมากนะคะ เป็นต้น
การกล่าวคำชม แบบเฉพาะเจาะจง พฤติกรร ม จะทำให้เกิดการทำซ้ำแล้วซ้ำอีกในวิธีการทำงานที่ถูกต้อง ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำงาน มากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ เวลาที่หัวหน้าสั่งงาน ก็ควรสั่งให้ชัดเจนเพราะบางที เราก็โมโห เพราะความไม่ชัดเจนของเราเอง
เช่น ส่งงานพี่พรุ่งนี้เช้านะทุกคน พรุ่งนี้เช้าต้องได้งานทันทีแต่คำว่าพรุ่งนี้เช้าก็ไม่ชัดเจนว่า คือกี่โมงพอ 9 โมงเช้าไม่มีใครมาส่งงาน ที่โต๊ะเราก็หงุดหงิด โมโหทั้งที่จริง ๆ แล้ว 10 โมง หรือ 11 โมง ก็ยังถือว่าเช้าได้อยู่ดังนั้น ในการสั่งงานของหัวหน้า จึงควรระบุให้ชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด
เช่น ส่งงานพร้อมกัน ที่โต๊ะพรุ่งนี้เช้า ก่อน 8.00 น. เป็นต้น ลูกน้องจะทำงานได้ดีแค่ไหนดึงเอาศักยภาพของตัวเองออกมาสร้างผลงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพเพียงใดหัวหน้าถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากโดยเป็นได้ทั้งคนที่คอยส่งเสริม
และคอย บั่ น ท อ น ในเวลาเดียวกันขึ้นอยู่กับว่าดูแลแนะนำ และปฏิบัติต่อลูกน้อง อย่างเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น ในทุก ๆ สถานการณ์ของการทำงานหัวหน้าจึงมีหน้าที่เสริมสร้างพลังให้กับทีมลูกน้องทุกคน
โดยต้องคอยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่ดีที่จะส่งผลเสีย บั่ น ท อ น ไฟและกำลังใจในการทำงานของลูกน้องให้ได้มากที่สุด
ขอขอบคุณ p a n j i t