
1. เริ่มประโยค ด้วยความเป็นกันเอง
อาจจะเป็นการไต่ถาม สารทุกข์สุกดิบด้วยความห่วงใยและใส่ใจ ในคำตอบของเขา อย่าลืมใช้คให้ำสุภาพ เหมาะสมและนุ่มนวลด้วยนะคะ “เป็นยังไงบ้างหยุดย า วที่ผ่านมาไปเที่ยวไหนมาบ้างคะ” การใช้ความเป็นกันเองจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกผ่อนคลายและเป็นมิตรด้วยนะคะ
อีกเรื่องคือ อวัจนะภาษาค่ะ ลักษณะท่าทางการพูดที่ถูกถ่ายทอดออกมาระหว่างดวงตาเรา หรือการสัมผัสบางอย่างเช่น การแตะไหล่เพื่อให้กำลังใจ การจับมือเพื่อปลอบปะโลม ปรบมือให้เพื่อให้กำลังใจ ก็เป็นสิ่งที่จะทำให้คุณและเค้าเข้าถึงกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
2. ฝึกพูด คำว่า”ไม่” แล้วชีวิตคุณจะ “ใช่”
เพราะคำว่า”ไม่” มันพูดให้ดูดียาก พูดให้ความหมายเป็นบวก ได้ยากมาก คำบางคำเป็นคำที่มักนำมาใช้ทำร้ า ย จิตใจคนอื่น แสดงถึงความไม่พอใจในตัวเขาหรืองานของเขา หลายคนใช้คำนี้จนติดเป็นนิสัยซึ่งไม่เป็นผลดีกับตัวคุณเองเลยล่ะค่ะ อยากให้ลองเปลี่ยนวิธีใช้มันดูนะคะ
เช่น “ลองทำแบบนี้ดูดีไหม” “แบบนี้ก็ดีนะ ถ้าเพิ่มส่วนนี้อีกหน่อยคุณคิดว่าจะเป็นยังไงคะ” แปลว่า เราไม่ได้ปฏิเสธความคิดของอีกฝ่ายแต่ลองแนะนำเพิ่มเติมเสมือนการชี้แนะเขา
3. มองให้ได้ 3 มุม
การพูดเป็นดั่งดาบ 2 คม ไม่ทิ่มแ ท ง เค้า ก็ย้อนกลับมาแ ท ง ที่ตัวเราเอง “สติ”อย่างเดียวอาจไม่พอ คุณต้องฝึกกระบวน การการคิดอย่างมีสติและวิเคราะห์ไปพร้อมๆกันด้วยค่ะ
ดูว่าธรรมชาติของเค้าเป็นคนอย่างไร เรื่องไหนควรพูด เรื่องไหนไม่ควรพูด แต่ที่สำคัญไปมากกว่านั้น ทุกครั้งถ้าจะมีการตำหนิ ตัดเตือน แก้ไขข้อผิดพลาดของงาน ให้ลองมองให้ได้ 3 มุม
1. มุมของเรา : เรามองว่าอย่างไร ในตำแหน่ง หน้าที่เรา เราควรมองแบบไหน แก้ปัญหาอย่างไร
2. มุมของเค้า : ถ้าเราเป็นเค้าเราจะทำอย่างไร ถ้าเราตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน โดนแบบนี้เหมือนกันเราจะรู้สึกอย่างไร แล้วเราจะแก้ปัญหานั้นแบบไหน
3. มุมของบุคคลที่3 หรือคนอื่นๆ ที่มองดู 2 คนนี้อยู่ : เค้าทำอะไรกัน ปัญหาคืออะไร เล็ก ใหญ่แค่ไหน ขนาดที่จะต้องทะเลาะกันเลยอย่างนั้นหรือ ทะเลาะด้วยเรื่องนี้เหตุผลมาจากอะไร เป็นต้น
ถ้าคุณมองให้ได้ครบทุกมุม คุณจะมองเห็นทุกด้านของความคิด เข้าใจเค้า เข้าใจเรา เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดมากขึ้น
4. อย่าติใคร ต่อหน้าคนอื่น
ไม่มีใครชอบ การถูกตำหนิค่ะ เราก็เช่นกันใช่ไหมล่ะคะ ยิ่งโดนด่าต่อหน้าคนอื่นด้วยแล้วล่ะก็ มันช่างเ จ็ บ แค้นแสนสาหัสเสียเหลือเกินจริงๆ การด่าใครต่อหน้าคนอื่น มันเป็นการตั้งใจฉีกหน้าเค้าให้พังยับชนิดที่เรียกว่าคนที่โดนด่านั้นจะจำฝังใจไปจนวัน ต า ย เลยทีเดียว
และความสัมพันธ์ระหว่างคุณและเค้าจะเสียไปในทันที สุดท้ายแล้วไม่มีฝ่ายไหนชนะ ไม่มีใครได้ประโยชน์จากการทำแบบนี้ค่ะ เพราะฉะนั้น แล้วถ้าไม่ใช่เรื่องที่มีผลกระทบต่อส่วนรวมแนะนำว่าไม่ควรทำอย่างยิ่งค่ะ
5. มีศิลปการชม
ชมเมื่อเค้าทำดี ทำงานได้ดี ช่วยเหลือผู้อื่น มีผลงานที่ดี ทำตัวดี คุณก็ควรชมเค้าด้วยใจที่ปรารถนาดี คำพูด คำจา น้ำเสียงที่ดี หน้าตาปลื้มปิติพลอยยินดี ไปกับเค้าด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อความรู้สึกมากนะคะ คนที่ถูกชมเค้าจะเหมือนได้รับของขวัญพิเศษจากคุณ
ทำให้มีแรงผลักดัน มีพ ลั ง ที่จะทำสิ่งนั้นให้ดียิ่งๆขึ้นไปการมีศิลปการชมที่ดีนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชมที่ผลงานของเค้าเท่านั้นค่ะ อยากให้ลองชม ความน่ารักของเค้า ความมีน้ำใจ ความเอาใจใส่ที่เค้ามีต่อคุณ ชมเครื่องแต่งกายชมพาหนะ ชมกระเป๋าถือเค้า
หรือสิ่งรอบๆ ตัวเค้า เพียงเท่านี้ก็เป็นการสร้างความสุขให้เค้าได้แล้ว และเค้าจะเกิดภาคภูมิใจเกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง แล้วเขาจะรักเรา แม้เคยเป็น ศั ต รู กันโกรธไม่มองหน้ากันก็จะหายโกรธเราค่ะ ลองดูนะคะ
6. อย่ารักษา น้ำใจด้วยการพูดอะไรที่มันไม่จริง
บางคนเข้าใจผิด ว่าการพูด”รักษา น้ำใจ”เป็นการพูดในสิ่งที่มันไม่จริงเพื่อให้เค้ารู้สึกดี และบางทีคนเรา ก็ชอบที่จะ “รักษา ภาพพจน์”(ที่ไม่จริงของตัวเอง) มากกว่ารักษา น้ำใจจึงเลือกพูดไปในสิ่งที่มันไม่จริง เพราะกลัวว่าถ้าเราพูดความจริงไป”เราจะดูไม่ดี และบางทีก็รักษาน้ำใจ ด้วย”การไม่บอก”
ซึ่งทั้งการพูดอะไรที่มันไม่จริง และทั้งการไม่บอกมันไม่ใช่สิ่งที่ควรทำค่ะ เพราะนอกจากจะเป็นเหมือนการสนับสนุนการกระทำของเค้าแล้ว ทำให้เขาไม่รู้ตัว แถมยังหลงละเลิง ว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นถูกต้องดีแล้ว “คิดทุกคำก่อนที่จะพูด แต่ไม่จำเป็นต้องพูด ทุกคำที่เราคิด” ไม่พอค่ะ ต้องเลือกใช้คำที่จะพูดให้เหมาะสมด้วย
7. เจอคำถามที่ต้อง “ฟั น ธง” หรือ “ตัดสินใจ” บางอย่างแล้วเราไม่แน่ใจ ตอบยังไงให้ดูดี
ถ้าต้องมีการตอบคำถาม ที่เป็นคำถามปลายปิด “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ควรหรือไม่ควร ดีหรือไม่ดี คุณคิดอย่างไร ต้องทำอย่างไร เจอคำถามพวกนี้แล้วเราไม่รู้หรือไม่แน่ใจในคำตอบปัญหาคือถ้าเราไม่ตอบ
เราก็ดู แ ย่ ถ้าเราตอบแล้วตอบผิด ก็ดู แ ย่ ไม่แพ้กัน เพราะฉะนั้นทางเลือกของเราให้เราแถได้แบบแถแล้วดูดี หลักมันอยู่ตรงนี้ค่ะ
⁃ คำตอบของคุณจะต้องไม่ไปพาดพิงใคร ไม่เป็นการตำหนิใคร
⁃ ใช้เหตุมีผลมารองรับจะให้ น้ำ ห นั ก กับคำตอบมากขึ้น ตอบช้าๆได้ค่ะ ไม่เป็นไร ค่อยๆใช้ความคิด ตอบอย่างมีสติ ระบุถึงเหตุผลที่มาที่ไปให้ชัดเจน
⁃ คุณสามารถอธิบายได้นะคะ ในบางเรื่อง ว่าเรื่องนี้”ไม่เกี่ยวกับเราโดยตรง” ด้วยลักษณะงานแล้ว
“ดิฉันอยากช่วยมากๆ เลยค่ะ เลยอยากแนะนำให้ลองปรึกษาทาง… จะได้คำตอบที่ชัวร์กว่านะคะ” นี่คือการปฏิเสธแบบรักษา น้ำใจ
⁃ ถามกลับไป ทวนคำถามเพื่อ พิจารณามุมมองของเขา แล้ว”คุณคิดยังไงบ้างคะ”
แต่กรณีนี้ เราต้องมีการเพิ่มเติมความคิดเห็นของเราลงไปบ้างนะ เค้าจะได้รู้สึกได้ว่าเรากำลังพยายามช่วยหาคำตอบอยู่
⁃ หาคำตอบมาให้ภายหลัย คุณสามารถตอบ ในลักษณะที่ว่า “ดิฉันทราบแต่เพียงว่า… ส่วนที่เพิ่มเติมจะรีบไปค้นหาคำตอบมาให้นะคะ”
“วิธีพูดอย่างไรให้คนรักนี้” ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่ามันจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านทุกท่านนะคะ
และขอขอบคุณจากใจ ที่อ่านมันจนถึงบรรทัดนี้ แต่สิ่งนี้คงจะเป็นได้เพียงคำแนะนำสั้นๆ
ที่ถูกเลื่อนหายไป จากฟีตหน้า เ ฟ ส บุ๊ ค ของคุณเท่านั้น ถ้าคุณไม่ลองเปิดใจ
ขอขอบคุณ f o l l o w m e p e r f u m e