Home ข้อคิดสอนใจ คนเงินเดือนน้อย “แต่มีเงินเก็บ” เพราะเขาทำแบบนี้

คนเงินเดือนน้อย “แต่มีเงินเก็บ” เพราะเขาทำแบบนี้

5 second read
0
1,015

ในยุคนี้เรามักจะพบเจอ กับความเห็นต่างทางความคิดของคนรุ่นใหม่ และคนรุ่นเดิมแทบจะทุกมิติของการใช้ชีวิต เรียกได้ว่าเป็นยุคเปลี่ยน ผ่านทางความคิดอย่างแท้จริง อย่างเรื่องการเงินในครอบครัวก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่ยังคงถกเถียงกันวนไปไม่ได้ข้อสรุป

บางกลุ่มก็มองว่าเมื่อเราทำงานได้แล้วเราก็ต้องเลี้ยงดู อุปการะพ่อแม่ ผู้มีพระคุณ หรือหยิบยื่นความช่วยเหลือทางการเงินให้พี่น้องที่ต้องการใช้เงิน ขณะที่บางกลุ่มก็มองว่า แค่ลำพังเลี้ยงตัวเองยังเอาตัวจะไม่รอดเลย ทำไมเราจะต้องแบกรับภาระการเงินของครอบครัวด้วย

ทั้งที่เรื่องการวางแผนการเงิน ควรจะเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องดูแลตัวเองให้ได้ ซึ่งทั้งสองแนวคิดนี้ก็มีข้อดีข้อจำกัด แตกต่างกันออกไป ไม่มีแนวคิดไหนดี หรือ แ ย่ กว่ากันไปทั้งหมดในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เป็นตัวกำหนดการกระทำของแต่ละคน

คงจะหนีไม่พ้นพื้นฐานของครอบครัว ถ้าใครอยู่ในครอบครัวที่ไม่ต้องให้ลูกหลานมาอุปการะเลี้ยงดู ก็อาจจะไม่ต้องแบกรับ ภาระอะไรมากมาย แค่หาเงินเลี้ยงตัวเองให้รอดก็พอ แล้วถ้าพอจะมีเงินเหลือเก็บ จะมาดูแลพ่อแม่ด้วย ก็ถือเป็นเรื่องดีมาก

ที่จะทดแทนพระคุณของท่าน แต่ถ้าใครอยู่ในครอบครัวที่ยังมีค่านิยมว่าพ่อแม่ต้องพึ่งพาลูกได้ ลูกต้องอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ ในยามที่ลูก หารายได้เองได้แล้ว และพี่น้องต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันในเรื่องการเงิน ตรงนี้เราก็ต้องหาทางวางแผนการเงินตัวเองให้เพียงพอต่อความรับผิดชอบที่มากขึ้น

ยิ่งถ้าเราเพิ่งเริ่มทำงาน ได้ไม่น าน ยังมีรายได้น้อยอยู่ ก็จำเป็นต้องวางแผนการเงิน ให้มีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยลองทำตาม 5 ขั้นตอนการวางแผนการเงิน สำหรับคนเงินเดือนน้อย แต่มีภาระหนักอึ้งที่ต้องรับผิดชอบ ว่าควรต้องทำยังไงกันบ้าง จะเริ่มวางแผนการเงินจากตรงไหนดี

5 ขั้นตอนวางแผนการเงิน ฉบับคนเงินเดือนน้อย แต่ภาระหนักอึ้ง

1. หักเงินออมไว้ก่อน 10% ของรายได้

ตรงนี้ขอย้ำว่าจำเป็นมาก และเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็น อย่างแรกในการวางแผนการเงิน เพราะต่อให้เราจะมีรายได้น้อยแค่ไหนก็ตาม ถ้าเราไม่เริ่มต้นด้วยการหักเงินออมไว้ก่อน แล้วนำไปลงทุนหาผลตอบแทนที่เหมาะสม

เราก็จะไม่มีทางมีอิสรภาพทางการเงินได้เลย แล้วพอเราเริ่มมีรายได้มากขึ้น ก็อาจจะขยับสัดส่วน การออมเงินเพิ่มขึ้นไปเป็น 15% หรือ 20% โดยแบ่งสัดส่วนการออมตามเป้าหมายของเรา ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

เช่น ออมเพื่อซื้อบ้าน แต่งงาน หรือเกษียณ เพื่อจะได้เลือกลงทุนให้เหมาะสมกับแต่ละเป้าหมายที่เราตั้งไว้

2. จัดสรรเงินที่เหลือให้ลงตัว กำหนดสัดส่วนการใช้จ่ายให้ชัดเจน

นำเงิน 90% ที่เหลือ มาเตรียมสำหรับใช้จ่าย โดยลองลิสต์ดูว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่เราต้องรับผิดชอบ เริ่มจากค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่สามารถหาทางประหยัดได้มากกว่านี้

แล้วในทุกเดือน เช่น ค่าเช่าที่พัก ค่าเดินทางไปทำงาน แล้วค่อยนำส่วน ที่เหลือมาจัดสรรไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่ผันแปรตามการใช้จ่ายของเรา เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่ากิน

และค่าใช้จ่ายเพื่อให้รางวัลตัวเองเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละเดือน ให้เราได้มีกำลังใจสู้ต่อไป

3. จำกัดความช่วยเหลือ ด้วยทางเลือกอื่นที่ไม่ต้องใช้เงิน

ในเมื่อเรามีเงินจำกัด และก็จัดสรรปันส่วน ในการใช้จ่ายและดูแลพ่อแม่แบบรัดเข็มขัดสุด ๆ แล้ว ถ้ายังต้องมีเรื่องให้เราต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ คนในครอบครัวอีก เราก็คงไม่มีเงินเพียงพอที่จะให้ ตรงนี้อาจจะลองมองหาทางช่วยด้านอื่นที่ไม่ต้องใช้เงินดูบ้าง

เช่น ช่วยหางานที่ดีให้ ช่วยถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็น ลงแรงช่วย แทนการให้เงิน หรืออาจจะช่วยหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ อย่างข้อมูลสินเชื่อที่มี ภาระดอกเบี้ยไม่สูง แล้วให้คนเหล่านั้นได้สู้ชีวิตด้วยตัวเองบ้าง อย่างน้อยเราก็ได้ช่วยทุกคนอย่างเต็มที่แล้ว

4. ปรับไลฟ์สไตล์การใช้เงิน ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

หลังจากกำหนดสัดส่วนการใช้เงิน สำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทแล้ว เราอาจจะเหลือเงินไว้ใช้จ่ายในแต่ละวันค่อนข้างน้อย ตรงนี้เราก็ควรที่จะปรับไลฟ์สไตล์การใช้เงินของเราแล้วล่ะ ลองดูว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่ไม่จำเป็น ก็ตัดออก หรือจ่ายให้น้อยลง

และถ้าสามารถเตรียมอาหารไปกิน ที่ทำงานได้ ก็จะช่วยลดรายจ่ายได้อีกทางหนึ่ง เรียกว่าเป็นการบริโภคตามฐานะ เอาไว้มีเงินมากขึ้น หายใจ หายคอได้คล่องขึ้น เราค่อยเพิ่มงบสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ให้มีความสุขมากขึ้น ตามฐานะทางการเงินที่มั่นคง

5. ป้องกันรายจ่ายที่ไม่คาดคิด ด้วยหลักประกัน สุ ข ภ า พ

เพื่อไม่ให้ค่ารักษาพยาบาล ของเราและคนในครอบครัวที่เราดูแล มากระทบต่อการวางแผนการเงิน ทำให้มีปัญหาทางการเงินซ้ำซ้อน ยากที่จะแก้ไข โดยในช่วงแรก ถ้าเราไม่มีเงินพอที่จะซื้อประกัน สุ ข ภ า พ เราก็อาจจะใช้สิทธิ์ของรัฐไปก่อน เช่น ประกันสังคม

หรือสิทธิหลักประกัน สุ ข ภ า พ 30 บาท (บัตรทอง) ลองดูว่าคนที่เราต้องดูแล สามารถรับสิทธิ์ไหนได้บ้าง เพราะอย่างน้อยก็ช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย เมื่อเกิดเหตุด้าน สุ ข ภ า พ ขึ้นได้ แล้วถ้ารายได้เรามากขึ้น ก็หา ประกัน สุ ข ภ า พ ที่ให้ความคุ้มครอง และดูแลทุกคนได้ดีขึ้น

ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ แล้วรู้ว่าตัวเองมีภาระที่ ต้องแบกรับไว้ค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่บ้าน ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ ค่าที่พัก ค่าเดินทางไปทำงาน ในขณะที่ยังมีรายได้น้อยอยู่ อย่าเพิ่งท้อใจไป ลองนำ 5 ขั้นตอนนี้ ไปปรับใช้ในการวางแผนการเงินส่วนตัว ให้เราได้เอาตัวรอดให้ได้

ขอแค่เรามีการวางแผนการเงินที่ดี และการรู้จักรักษาวินัย ในการใช้เงินจะช่วยให้เราจัดสรรการใช้จ่ายได้เอง ถึงแม้จะมีเงินน้อยอยู่ก็ตาม ถ้ามีตรงไหนที่คิดว่าทำไม่ได้ ก็ลองหาวิธีที่เข้ากับสไตล์ของตัวเรามากขึ้น

เพราะสุดท้าย ต่อให้แผนดีแค่ไหน แต่ถ้าปฏิบัติไม่ได้จริง ก็ไม่มีประโยชน์ เราจึงต้องดูที่ผลลัพธ์เป็นหลัก

แล้วถ้าจะหามุมมอง ที่เป็นด้านบวกจากเรื่องนี้ ก็คงจะเป็นประสบการณ์ดี ๆ ที่เราจะเอาตัวรอดได้ด้วยเงินเดือนอันน้อยนิด แต่มีภาระหนักอึ้งที่ต้องรับผิดชอบ

ด้วยการวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพ ขอบอกเลยว่าถ้าใครสามารถผ่าน สถานการณ์นี้ไปได้ เมื่อถึงวันหนึ่งที่เรามีรายได้มากขึ้น เราจะมีชีวิตที่ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน

ขอขอบคุณ k r u n g s r i

Load More Related Articles
Load More By adminyinde
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

12 อย่าง อย่าคิดโพสต์ลงโซเชียล เพราะอาจทำให้ชีวิตคุณแย่ลง

ทุกวันนี้ เราจะเห็นหลายๆ คน แ ช ร์ เรื่องราวต่างๆลงบน F a c e b o o k ของตนเองเต็มไปหมดเพร…